วันพุธที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บทความเกี่ยวกับสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย


บทความที่ 1

กิจกรรมพัฒนาการฟังสำหรับเด็กปฐมวัย

เด็กเริ่มเรียนรู้ภาษาจากการฟังแล้วเลียนแบบเสียง  เลียนแบบการใช้คำ  ซึ่งนำไปสู่การพูด การฟังเบื้องต้นของเด็กในโรงเรียนเป็นการฟัง คำพูด ฟังเสียงดนตรี ฟังเสียงธรรมชาติและฟังเรื่องราวโดยเฉพาะนิทาน แล้วฝึกการถ่ายทอดด้วยการบอก การถาม การสนทนา และการเล่าเรื่อง ซึ่งการฟังนอกจากจะช่วยให้เด็กพัฒนาแล้วยังสร้างความเข้าใจสิ่งแวดล้อมรอบตัวด้วยลักษณะของการฟังอาจเป็นการฟังจับเรื่อง  การฟังอย่างซาบซึ่ง การฟังเพื่อการวิเคราะห์ หรือการฟังเพื่อรู้และเข้าใจ
       การฟังของเด็กเป็นการรับรู้เรื่องราวด้วยประสาทสัมผัสทางหูที่เด็กสะสมและนำไปสร้างเสริมพัฒนาการทางภาษามากกว่าการใช้เพื่อพัฒนาปัญญา เด็กจะเก็บคำพูด จังหวะ เรื่องราว จากสิ่งที่ฟังมาสานต่อเป็นคำศัพท์ เป็นประโยคที่จะถ่ายทอดไปสู่การพูด ถ้าเรื่องราวที่เด็กได้ฟังมีความชัดเจน ง่ายต่อการเข้าใจ เด็กจะได้คำศัพท์และมีความสามารถมากขึ้น พัฒนาการด้านการฟังของเด็กตามวัยเป็นดังนี้
       อายุ ขวบ ชอบฟังคำพูดสั้นๆ จูงใจ  ฟังเรื่องสั้นๆ และเพลงกล่อมเด็กวัยนี้ชอบคำซ้ำและเลียนแบบเสียง
       อายุ ขวบ ชอบฟังเสียงต่างๆ เช่น เสียงสัตว์  ยานพาหนะ  เครื่องใช้ในครัวเรือน ชอบฟังนิทาน ฟังได้นานและฟังอย่างตั้งใจ สามารถเข้าใจภาษาพูดง่ายๆของผู้ใหญ่ ทั้งคำถามและปฏิเสธ ชอบทดลองทำเสียงเหมือน เช่น เสียงรถยนต์  รถไฟ 
       อายุ ขวบ  ฟังเรื่องได้นานขึ้น เริ่มตีความหมายเรื่องที่ฟัง เช่น ถามคำถามหรือต่อเรื่องได้ วัยนี้สามารถปฏิบัติตามคำสั่งง่ายๆได้ ชอบฟังเรื่องซ้ำๆและสามารถจำแนกความแตกต่างของเสียงได้
       อายุ ขวบ  ชอบฟังนิทาน เพลง เล่นภาษา เช่น คำคล้องจอง สามารถเข้าใจคำพูดข้อความยาวๆได้ ความเข้าใจทำให้เด็กวัยนี้พูดเก่งและจำแม่น
       อายุ ขวบ ฟังเรื่องราวต่างๆที่เกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่างๆรอบตัวได้ และเข้าใจ ถ้าไม่ซับซ้อนเกินไป
       กิจกรรมการฟัง ที่ครูควรจัดได้แก่ การฟังนิทาน ฟังคำสั่ง ฟังการจำแนกเสียงลักษณะของการจัดกิจกรรมอาจนำไปสอดแทรกในกิจกรรมการเรียนรู้อื่นๆหรือจัดแยกเป็นกิจกรรมอิสระก็ได้









บทความที่ 2

สื่อและเครื่องเล่นยุคใหม่ของเด็กปฐมวัย

    สื่อและเครื่องเล่นยุคใหม่ของเด็กปฐมวัย (Media and playing materials for the preschooler) เป็นผลพวงของความเจริญก้าว หน้า และศักยภาพในการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เกิดเป็นผลผลิตทางการเรียนรู้ให้แก่มนุษย์ชาติ เด็กปฐม วัยคือคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้รอดผลจากผลกระทบทั้งหลายเหล่านั้น ถึงเวลาแล้วที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย จะต้องหันมาให้ความสนใจ และคิดใคร่ครวญถึงบทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่าย ในการร่วมเรียนรู้ พัฒนา และสนับสนุน ส่งเสริมการใช้สื่อและเครื่องเล่นยุคใหม่
    เพื่อพัฒนาเด็กทั้งรายบุคคลและในระบบกลุ่มสื่อและเครื่องเล่นโดยทั่วไปแล้ว มีคุณค่าในการเสริมสร้างพัฒนาทักษะพื้นฐานแก่เด็กในหลากหลายด้าน ทั้งร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม สติปัญญา รวมถึงความเข้าใจในการทำหน้า ที่ของมนุษย์แต่ละช่วงวัย เสริมจิตนาการและทักษะการสื่อสารระหว่างเพื่อนมนุษย์รอบๆตัว
    สื่อและเครื่องเล่นยุคใหม่ในปัจจุบันนี้ มักปรากฏให้เห็นในรูปแบบดิจิตอลอนาล็อก โปรแกรม แอพพลิเคชั่น ที่ใช้ประกอบฮาร์ดแวร์ เช่น เครื่องโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ตอีบุ๊คส์ หรือโปรแกรมทีวีออนไลน์ ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อ อำนวยความสะดวกสบายแก่ผู้ใช้งาน สามารถส่งเสริมการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆแก่เด็ก อย่างไรก็ตาม กิจกรรมการเรียนรู้แบบดั้งเดิมเช่น การวาดภาพระบายสี การตัดแปะกระดาษต่างๆ ก็ยังมีความสำคัญ และเป็นกิจกรรมการพัฒนาหลักๆที่ขาดไม่ได้ เพราะเป็นกิจกรรมที่เด็กใช้อวัยวะร่างกาย เช่น ลำแขน ฝ่ามือ และอวัยวะอื่นๆ ทำงานร่วมกันในการสร้างชิ้นงาน ตามความคิด ซึ่งสื่อยุคใหม่จะสามารถเข้ามาเติมเต็มให้เกิดผลผลิตที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นได้ เช่นการสร้างรูปด้วย กล้องดิจิตอล วีดีโอ โทรศัพท์มือถือ เทปบันทึกเสียง ที่สร้างความบันเทิง ร่วมกับเสนอตัวช่วยในการสร้างชิ้นงานจากจิตนาการสร้างสรรค์ของแต่ละคน




บทความที่ 3

ศิลปะการเล่านิทานสำหรับเด็กปฐมวัย

 นิทานเป็นศิลปะบันเทิงที่ผู้คนทั่วโลกต้องการ  ครูสามารถใช้นิทานเป็นสื่อ  เพื่อสอนจริยธรรม  ส่งเสริมจินตนาการ  ความคิดสร้างสรรค์  และใช้นิทานเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างนิสัยรักการอ่านได้เป็นอย่างดี
          นิทานสามารถปลุกให้เด็กๆ  มีจิตใจอ่อนโยน  กล้าหาญ  และมีความรู้สึกเสียใจในความทุกข์ของผู้อื่น  รู้จักแบ่งปันความสุขให้ผู้อื่น
          ประโยชน์ของการเล่านิทาน
          1.  เป็นสื่อเชื่อมโยงความรักจากผู้เล่านิทานไปสู่ผู้ฟัง  หากผู้เล่า  เล่าด้วยความตั้งใจ  เต็มใจ
เล่าอย่างสนุกสนาน  มีชีวิตชีวา  และส่งผลถึงพัฒนาการด้านอารมณ์ของเด็ก  ทำให้เด็กเกิดความรู้สึกอบอุ่น  เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง  รู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของสังคม
          2.  ฝึกให้เด็กรู้จักฟัง  มีสมาธิ
          3.  เป็นการสร้างสรรค์ทางภาษาให้แก่เด็ก  ทำให้เด็กใช้ภาษาได้ถูกต้อง  รู้จักใช้คำศัพท์ต่างๆ  ถ้าผู้เล่าระมัดระวังในการเลือกใช้ภาษา  ใช้คำ  ภาษาให้ถูกต้อง  เด็กจะเกิดความสุนทรีย์
ในภาษา  เพราะมีแบบอย่างที่ดี
          4.  ให้ความบันเทิงใจ  ทำให้เด็กผ่อนคลายอารมณ์ได้รับความสุขสนุกสนานเพลิดเพลิน
ทำให้ร่าเริง  แจ่มใส  สมวัย
          5.  ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก  นิทานก่อให้เกิดจินตนาการ  คิดเสริมต่อเนื้อเรื่องในนิทาน  โดยมีเด็กๆ  เป็นตัวละครในเรื่อง  ทำให้เด็กมีโลกส่วนตัวที่เขาจะคิดสร้างสรรค์อะไรก็ได้ทำให้เกิดความภาคภูมิใจในตนเองตามมา
วัยอนุบาล อายุ  4 - 6 ปี
           เด็กวัยนี้  เริ่มมีความคิดคำนึงในทางจินตนาการมากขึ้น  ต้องการสร้างความอบอุ่นใจโดยการ
สร้างความสัมพันธ์กับผู้ใหญ่  เป็นระยะที่ความเจริญทางภาษาเป็นไปอย่างรวดเร็ว  ฟังนิทานได้ครั้งละหลายๆ  เรื่อง  ชอบวาดรูปคน  ดอกไม้  สามารถเข้าใจหนังสือ  รูปภาพได้รวดเร็ว
            ความสนใจและความต้องการฟังนิทาน  วัยนี้เป็นวัยสนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัว  ต้นไ  ดอกไม้  สัตว์  พ่อ  แม่  ญาติพี่น้อง  เด็กวัยเดียวกัน  ท้องฟ้า พระอาทิตย์  พระจันทร์  ดวงดาวต่างๆ  รูปทรง  เสียง  ความสนใจสั้นมาก  ประมาณ  5 - 10 นาที  ชอบฟังคำคล้องจอง  ฟังนิทานสั้นๆ  ชอบนิทานประเภทสัตว์วิเศษ  พูดได้  เรื่องนางฟ้า  เทวดา  โดยเฉพาะนิทานก่อนนอนชอบเรื่องที่แสดงความยุติธรรม  จบเรื่องด้วยความสุข  เรื่องความตื่นเต้นเล็กน้อย  ตัวอย่างนิทาน เช่น  หนูน้อยหมวกแดง  คนขายหมวกแดง  คนขายหมวกกับลิง  เจ้าหญิงนิทรา  ชินเดอเรลล่า  นิทานอีสป  เป็นต้น








บทความที่ 4

สื่อและของเล่นเด็กปฐมวัย


สื่อและของเล่น จัดเป็นปัจจัยที่สำคัญปัจจัยหนึ่ง สภาพแวดล้อมหนึ่ง ที่มีผลต่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก สื่อและของเล่นแต่ละประเภท มีส่วนในการพัฒนาเด็กแตกต่างกันไป การเลือกใช้และผลิต จึงเป็นสิ่งสำคัญที่พ่อแม่ ผู้ปกครอง รวมทั้งครู จะมีบทบาทในการพิจารณาให้เหมาะสมกับพัฒนาการตามวัยของเด็ก และตรงตามวัตถุประสงค์ โดยเฉพาะการนำสื่อและของเล่นมาใช้ประกอบกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนั้น การผลิตสื่อและของเล่น สำหรับเด็กปฐมวัย จึงควรคำนึงถึงหลักการผลิต การเลือกใช้ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อให้สามารถส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้านต่างๆ ได้อย่างครบถ้วน

หลักการเลือกสื่อและของเล่น


แนวทางในการเลือกสื่อและของเล่นโดยทั่วไป ควรมีหลักเกณฑ์การเลือกเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อเด็กหรือผู้เรียนดังนี้
1. การเลือกสื่อควรพิจารณาให้มีความสัมพันธ์กับเรื่องที่ต้องการให้เด็กๆได้เรียนรู้ เพื่อให้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ และสอดคล้องกับเนื้อหาอย่างครบถ้วน
2. การนำสื่อไปใช้ในกิจกรรมหรือประสบการณ์ให้เด็ก ต้องคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้น ดังนั้นก่อนนำสื่อไปใช้ให้เกิดประสิทธิผล ควรมีการทดลองใช้และติดตามผลการใช้สื่อนั้นๆ ก่อน
3. สื่อควรสร้างเสริมความคิดและให้แนวทางในการแก้ปัญหาได้หลายๆ ด้าน
4. กรณีผลิตสื่อขึ้นใช้เอง ควรพิจารณาเทคนิคการผลิตสื่อนั้นๆ ว่า ดี หรือมีความเหมาะสมในการใช้งานมากน้อยแค่ไหน เช่น สี ขนาด สัดส่วน ที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริง
5. สื่อต้องเหมาะสมกับวัย เพศ ระดับความรู้ ประสบการณ์เดิมของผู้รับ
6. การสร้างสื่อรวมทั้งการใช้สื่อ ควรยึดหลักการตอบสนองความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ อันได้แก่ ความต้องการทางกาย ความต้องการความปลอดภัย ความต้องการการยอมรับของกลุ่ม ความต้องการการยกย่องนับถือ ความต้องการความสำเร็จในชีวิต
7. ควรเลือกใช้สื่อชนิดที่เข้าถึงและเป็นที่นิยมของกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงภาษาที่สามารถสื่อสารให้เข้าใจได้ง่าย น่าสนใจ และใช้สื่ออย่างคุ้มค่า
8. สื่อนั้นๆ ผู้รับควรรับรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้าให้มากที่สุด
9. สื่อที่ใช้ควรเป็นสถานการณ์ในปัจจุบัน ทันต่อเหตุการณ์และความก้าวหน้า รวดเร็วตรงตามเป้าหมาย
10. ควรนำศิลปวัฒนธรรม ประเพณี กิจกรรม บุคลากร องค์กร หรือทรัพยากรต่างๆ ในท้องถิ่น มาใช้เป็นสื่อให้มากที่สุด








บทความที่ 5

ผลของเด็กที่เกิดจากการดูทีวี

ผลการศึกษาในสหรัฐพบว่า หากให้เด็กอายุ 3 ขวบดูโทรทัศน์มากเท่าไรอาจทำให้เด็กเสี่ยงเป็นคนก้าวร้าวมากขึ้นเท่านั้น ความเสี่ยงนี้ยังคงอยู่แม้เปิดโทรทัศน์ทิ้งไว้โดยที่เด็กไม่ได้ดู
เจน นิเฟอร์ แมนกาเนลโล จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐนิวยอร์ก ที่อัลบานีร่วมกับคณะสาธารณสุขและเวชศาสตร์ เขตร้อน มหาวิทยาลัยทูเลน ศึกษากับสตรี 3,128 คน ใน 20 เมืองที่มีลูกช่วงปี 2541-2543 ระดับการศึกษาหลากหลายแต่ 1 ใน 3 เรียนไม่จบระดับมัธยมศึกษา สตรี 2 ใน 3 เผยว่าให้ลูกวัย 3 ขวบดูโทรทัศน์วันละไม่ต่ำกว่า 2 ชั่วโมง เฉลี่ยอยู่ที่วันละ 3 ชั่วโมง สตรีส่วนใหญ่เปิดโทรทัศน์วันละ 5 ชั่วโมง และเมื่อนำปัจจัยที่ทำให้เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าว เช่น อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ใช้ความรุนแรง มีมารดาเป็นโรคซึมเศร้า มาคำนวณร่วมด้วยพบว่า การดูโทรทัศน์และจำนวนชั่วโมงที่เปิดโทรทัศน์มีส่วนสัมพันธ์อย่างมากกับ พฤติกรรมก้าวร้าว เช่น ชอบตีคนอื่น อารมณ์ร้าย ไม่เชื่อฟัง กรีดร้องบ่อย ๆ
คณะ นักวิจัยระบุว่า เด็กอาจเห็นภาพความรุนแรงจากโทรทัศน์ และการใช้เวลานั่งอยู่หน้าจอมากเท่าไรเท่ากับว่าเด็กมีเวลาทำกิจกรรมสร้าง สรรค์เช่น การอ่านหนังสือ การเล่นน้อยลงเท่านั้น จึงต้องศึกษาเพิ่มเติมต่อไปเกี่ยวกับเนื้อหาของรายการโทรทัศน์และสิ่งที่ เกิดขึ้นภายในบ้านในช่วงที่เปิดโทรทัศน์ พร้อมกับหยิบยกคำแนะนำของสมาคมกุมารเวชอเมริกันไว้ในรายงานด้วยว่าไม่ ควรให้ เด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบดูโทรทัศน์เลย ส่วนเด็กที่โตกว่า 2 ขวบไม่ควรให้ดูโทรทัศน์เกินวันละ 2 ชั่วโมง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น